“กางเกง เช่นเดียวกับกางเกงเครื่องแบบลูกเสือสามัญ”
ONCE A SCOUT..................... ALWAYS A SCOUT
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการลูกเสือที่คุณยังไม่รู้ หรือ อาจลืมไปแล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ลูกเสือไทยกับลูกเสืออังกฤษกำเนิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563
"เราจะทำอย่างไรกันดี" ในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหลักสูตรลูกเสือเริ่มหนาหู ตั้งแต่ระดับเด็กๆจนถึงท่านผู้ทรงเกียรติในสภาที่เสนอให้เอาลูกเสือออกจากหลักสูตร ผมว่าเราเองก็น่าจะต้องกลับมา ทบทวนตัวเองด้วยเหมือนกัน บางประเด็นที่มีผู้กล่าวถึงกิจการลูกเสือในแง่ร้าย อาจฟังได้ว่าผู้พูดยังไม่เข้าใจกระบวนการลูกเสือดีพอ แต่บางประเด็นเราก็น่าจะต้องพิจารณาว่าเป็นจริงอย่างที่กล่าวหาหรือไม่? อะไรเป็นเหตุให้เขากล่าวเช่นนั่น? หลายวันก่อนผมเปิดประเด็นเรื่องนี้เอาไว้ในเพจลูกเสือต่างๆ ได้รับข้อคิดเห็นดีๆจากพี่น้องหลายท่านที่ต้องการให้ลูกเสือไทยก้าวไปสู่วิถึทางแบบลูกเสืออย่างแท้จริง ปัญหาต่างๆหมักหมมกันมานานครับ ว่ากันไปแล้วก็กลายเป็นงูกินหาง ทำไปทำมาก็เลยไม่รู้จะเริ่มแก้ปัญหากันตรงไหน ผมคงไม่พูดถึงปัญหาในที่นี้ละครับ เรื่องมันยาว ไว้ค่อยๆหยิบยกทีละเรื่องมาเปิดประเด็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า เราแสดงความคิดเห็นด้วยความจริงใจแบบลูกเสือ มองกันในแง่สร้างสรรค์ แม้จะไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะผลักดันอะไรได้แต่ก็น่าจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้างนะครับชี้ไปตรงไหนก็มีปัญหา แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี?อย่าเพิ่งไปมองเรื่องใหญ่ๆเลยครับ บางทีมันก็ใหญ่เกินกำลังของเรา บางทีกว่าจะผลักดันได้ก็ใช้เวลากันอีกนานพี่น้องลองเริ่มกันอย่างนี้ก่อนดีไหมครับ เริ่มจากกองลูกเสือของเรานี่แหละ ลองคิดว่าลูกเสือตามหลักสูตร ก็เหมือนเด็กเรียนพลศึกษาในคาบเรียนปกติ รู้กติกาพอดูกีฬาเป็น เล่นกีฬาพอได้บ้างงูๆปลาๆ แต่มีเด็กอีกพวกที่ชอบกีฬา พวกนี้เป็นนักกีฬาโรงเรียน เลิกเรียนต่องซ้อมกีฬา เก็บตัวแข่งขันเอาจริงเอาจัง เหมือนลูกเสือแหละครับ ตามหลักสูตรก็ว่ากันไปเท่าที่ทำได้ แต่เด็กที่สนใจลูกเสือจริงๆ พวกนี้ก็เหมือนทีมโรงเรียนครับ เราสามารถนำกระบวนการลูกเสืออย่างแท้จริงมาฝึกอบรมได้เต็มที่ ส่วนจะทำอย่างไรจึงจะเป็นไปตามกระบวนการลูกเสือที่แท้จริงนั้น วันหน้าเรามาคุยกันต่อเพื่อขยายผลครับวันนี้เริ่มต้นจากตรงนี้ดีไหมครับหลายท่านคงได้อ่านหนังสือ'การลูกเสือสำหรับเด็กชาย' มาแล้ว หากยัง ผมแนะนำให้ไปหาอ่านครับ เล่มละ๒๒๐บาท นี่คือหัวใจของการลูกเสือที่ผู้รักกืจการลูกเสือต้องอ่านนอกจากอ่านเองแล้ว ให้เด็กในกองลูกเสือของท่านทุกคนได้มีโอกาสอ่านด้วย ย้ำ ขีดเส้นใต้คำว่าทุกคนวิธีการคงแล้วแต่ท่านจะบริหารครับ อาจจัดหาไว้ประจำหมู่ หมู่ละเล่มผลัดกันอ่าน หรือ หาไว้ในห้องสมุด หรือ ถ่ายเอกสาร ฯลฯเริ่มจากตรงนี้ จากจุดเล็กๆ แต่จะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างลูกเสือที่เป็นลูกเสือจริงๆ ลูกเสือที่มี 'Scouting Spirit' และจะยั่งยืนตลอดไปเริ่มหยดน้ำดีลงไปเป็นหยดเล็กๆครับ ไม่ช้าจะเห็นผลเชื่อผมเถอะ ผมกับลูกหมู่ของผมอ่านกันมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563
"คอนวอย"
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เริ่มมีลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ โดยในปีนั้นลูกเสือออกจากหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาเป็นลูกเสือต้องเป็นด้วยความสมัครใจ และคณะลูกเสือแห่งชาติกำลังนำหลักสูตรลูกเสือแผนใหม่จากอังกฤษมาทดลองใช้
เมษายน ๒๕๐๖
เปิดอบรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เป็นรุ่นแรกที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ โดยมีกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เป็นกองนำร่อง
๘ กอง จากโรงเรียนรัฐบาล ๔ กอง และ โรงเรียนราษฎร์(สมัยนั้นเรียกอย่างนี้) ๔ กอง
ได้แก่
โรงเรียนรัฐบาล
๑.โรงเรียนวัดราชาธิวาส
๒.โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริย์
๓.โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
๔.โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
๑.โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง(ชื่อสมัยนั้น)
๒.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน
๓.โรงเรียนอำนวยศิลป์
๔.โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี
พ.ศ.๒๕๐๘ : กองลูกเสือราชาธิวาส
ในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่๕ ที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
การแสดงสัญญลักษณ์ของลูกเสือไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
การแสดงสัญญลักษณ์ของลูกเสือไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ผู้ใหญ่กับเด็ก
(๒) ตระหนักถึงความต้องการ, ทัศนะและความปรารถนาของชีวิตในวัยต่างๆกัน
(๓) สนใจปฏิบัติต่อเด็กเป็นบุคคล มากกว่าต่อเด็กทั้งกลุ่ม
(๔) ส่งเสริมสำนึกของความร่วมมือระหว่างเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อให้ได้ผลสำเร็จที่ดีที่สุด