การยุทธกับเผ่าอาชานติ
บาเดน-เพาเวลล์ได้แนวความคิดหลากหลายกลับบ้านจากการยุทธกับเผ่าอาชานติ แนวความคิดเหล่านั้นหลายอย่างยังคงใช้อยู่ในกิจการลูกเสือทุกวันนี้
บาเดน-เพาเวลล์ได้แนวความคิดหลากหลายกลับบ้านจากการยุทธกับเผ่าอาชานติ แนวความคิดเหล่านั้นหลายอย่างยังคงใช้อยู่ในกิจการลูกเสือทุกวันนี้
แผนที่ประเทศกานาปัจจุบัน
บริเวณชายฝั่งทะเลโกลด์โคสต์ (Gold Coast) ณ ที่ซึ่งปัจจุบันคือประเทศกานา ในแอฟริกาตะวันตก ในอดีตเคยเป็นอาณานิคมของราชอาณาจักรอังกฤษ บี-พี ถูกส่งไปที่นั่นในปี1895 เพื่อสนับสนุนกองกำลังชาวพื้นเมืองให้เผชิญหน้ากับเผ่าอาชานติ(Ashanti )ผู้ทรงอิทธิพล
ชาวเผ่าอาชานติเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นนักสู้ผู้ห้าวหาญ ด้วยคำขวัญว่า
หากข้าไปข้างหน้าข้าตาย - If I go forward I die
หากข้าถอยหลังข้าตาย - If I go backward I die
ไปข้างหน้าแล้วตายดีกว่า - Better go forward and die
กองกำลังของบาเดน-เพาเวลล์ประกอบไปด้วยนักรบหลายร้อยคนจากเผ่าโครโบส์(Krobos), เอลิมา(Elima), มัมฟอร์ด(Mumford) และ อาดานสิ(Adansi) พวกเขาต้องออกสอดแนมเส้นทางใหม่ๆผ่านป่าไปในแดนของข้าศึก และ บุกเบิกสร้างถนนสายใหม่ๆ เพื่อให้กองกำลังหลักของอังกฤษสามารถติดตามเข้าโจมตีคูมาสิ(Kumasi ) เมืองหลวงของเผ่าอาชานติ
หมู่ลูกเสือ
การบุกเบิกในป่า
การตัดถนนผ่านป่าเข้าไปนั้น หมายถึงการถากถางดงทึบ วางแนวถนน ผ่านที่ลุ่มชื้นปราศจากต้นไม้มักมีน้ำท่วม และ ก่อสร้างสะพานข้ามลำธารและสายน้ำเชี่ยว บี-พีต้องฝึกจนมั่นใจว่ากำลังพลของเขามีความชำนาญในการใช้มีดและขวาน, การบุกเบิก และ การผูกเงื่อนเชือก พวกเขาสร้างสะพานกว่า 200 แห่ง จากไม้โครงผูกแน่นด้วยเถาวัลย์
พวกอาชานติใช้กลองในการส่งสัญญาณไปเป็นระยะทางไกลๆและภาษาที่เข้าใจยากของกลองก็สามารถได้ยินเสียงกัมปนาทผ่านป่าทึบทุกคืน
หมู่ลูกเสือ
บาเดน-เพาเวลล์ เรียนรู้ประโยคที่ว่า “จับลิงต้องจับเบาเบา -`softly softly catchee monkey'”จากชาวพื้นเมือง และ เรียนรู้ต่อไปอีกว่า กำลังพลของเขาจะปฏิบัติงานได้ผลดีที่สุดเมื่อแบ่งออกเป็นหมู่เล็กๆ และ มอบอำนาจความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าของแต่ละหมู่
อ้างอิง :
The African Seeds of Scouting
http://www.scouting.org.za/seeds/ashanti.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น